กำลังได้รับความสนใจมากในช่วงนี้ กับการที่รัฐบาลปรับกฎหมายเก็บภาษีคนไทยขายของออนไลน์แต่ยกเว้นภาษีให้นักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนขายของออนไลน์ในไทย ซึ่งนั่นก็คืออาลีบาบายักษ์ใหญ่แห่งตลาดอีคอมเมิร์ซจีน ภายใต้การนำของ แจ๊ค หม่า ที่ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU กับรัฐบาลไทยเมื่อเมษายนที่ผ่านมา

ภาพประกอบจาก: www.prachachat.net
ข้อดีที่ถูกพูดถึงจากความร่วมมือครั้งนี้คือการสร้างดิจิทัลฮับ ศูนย์กระจายสินค้าในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญช่วยเชื่อมโยง SMEs ไทย กลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึงตลาดจีนและตลาดโลก โดยในอีก 5 ปีข้างหน้าจีนจะเปิดเสรีการค้าซึ่งจะมีการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกมากขึ้น นั่นหมายถึงโอกาสของทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำลังพัฒนาสู่ไทยแลนด์ 4.0 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
ส่วนฝั่งอาลีบาบาก็ได้เข้าถึงโอกาสทั้งการมีศูนย์กระจายสินค้า สิทธิประโยชน์ในการลงทุน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนใหม่ของบีโอไอ ที่ยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี และได้สิทธิลดหย่อนภาษี 50% ในปีที่ 9-13 หากมีการดำเนินการเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดด้านความร่วมมือ จากตรงนี้เองที่ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า แล้วผู้ประกอบการไทยได้อะไร?
กรมสรรพากรก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้ประกาศคำชี้แจงในกรณีรัฐบาลออกกฎหมายเก็บภาษีคนไทยขายของออนไลน์ แต่ยกเว้นภาษีให้นักลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนขายของออนไลน์ในไทย โดยมีใจความดังนี้
ตามที่ได้มีการแชร์ข้อความในสื่อสงัคมออนไลน์ ว่าคนไทยขายของออนไลนร์ัฐบาลนี้ออกกฎหมาย ขูดรีดภาษีแต่ยกเว้นภาษี 13 ปี ให้แจ๊คหม่ามาลงทุนขายของออนไลน์ในไทย นั้น กรมสรรพากร ขอเรียน ดังนี้
1. ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการทางออนไลน์มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายปัจจุบันอยู่แล้วเช่นเดียวกันกับผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้า หรือให้บริการที่มีร้านค้า รัฐบาลไม่ได้ออกกฎหมายจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมแต่อย่างใด
2. ปัจจุบัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทางออนไลน์ซึ่งกระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี คือการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการต่างประเทศ ที่ให้บริการลูกค้าในประเทศไทย ซึ่งเป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีและการแข่งขัน อันเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้มีการนำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจในต่างประเทศอย่างครบถ้วน จึงทำให้ผู้ประกอบธุรกิจ ในประเทศไทยที่ต้องเรียกเก็บและน าส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเสียเปรียบ
3. กรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษีของอาลีบาบานั้น เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกได้ชี้แจงไปแล้วว่า “การได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของ BOI ซึ่งสิทธิประโยชน์พื้นฐานจะแตกต่างกันไปตามประเภทกิจการ โดยกิจการประเภทเดียวกัน จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดียวกัน ในปัจจุบันการส่งเสริมการลงทุนจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการถ่ายทอด เทคโนโลยีและการฝึกอบรมบุคลากรควบคู่ไปด้วย นอกจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานแล้ว ผู้ขอรับการส่งเสริมยังอาจ ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามหลักเกณฑ์ ที่ก าหนด การพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนให้กับอาลีบาบานั้น BOI จะมีการพิจารณาตาม หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศก าหนด ซึ่งมิได้เป็นการให้เฉพาะเจาะจงกับรายใดรายหนึ่ง เป็นกรณีพิเศษ” นอกจากนั้น หากพิจารณาประเภทกิจการที่รัฐต้องการส่งเสริมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุนและกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะพบว่า ไม่ใช่กิจการที่แข่งขันกันกับผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการทางออนไลน์แต่อย่างใด
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยขอให้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร โทร. 1161 และหากพบเห็นการกระท าใดๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขอให้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลต่างๆ ที่ www.rd.go.th > เมนู “การแจ้งแหล่งภาษี” เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป
** พูดคุยเรื่องทางธุรกิจและสร้าง Connection กับเพื่อนร้านค้าเจ้าอื่นๆ ได้ที่นี่เลยฮะ กรุ๊ปร้านค้าผู้น่า Like by Sellsuki อย่าลืม! ตอบคำถามก่อนเข้ากรุ๊ปด้วยน้า ^^