จากงาน LINE CONFERENCE 2019 ที่ LINE ได้ออกมาเผยวิสัยทัศน์และการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ สำหรับปีนี้ LINE มาพร้อมกับแนวคิด LIFE ON LINE ที่มุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มให้เป็นตัวช่วยในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานได้ในทุกมิติ โดย LINE มองว่าต่อไปนี้การขายจะไม่ใช่แค่การเชื่อมกันระหว่าง Online to Offline (O2O) อีกต่อไป แต่จะกลายเป็น Online Merges with Offline (OMO) คือการผสานโลกดิจิทัลและโลกออฟไลน์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เรานำมาให้ดูบางส่วนบทความนี้จะเปิดให้บริการในญี่ปุ่นก่อน ในส่วนของประเทศไทยนั้นต้องติดตามประกาศจากทาง LINE ประเทศไทย กันอีกที
LINE Mini App
แพลตฟอร์มใหม่ภายใต้แอป LINE ที่ชื่อว่า LINE Mini ช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้บริการทำได้ง่ายขึ้น จากที่เราต้องดาวน์โหลดแอปฯ เพื่อใช้บริการต่างๆ แล้วยังต้องเปิดหน้าเว็บไซต์อีกทีเพื่อค้นหาข้อมูลของบริการ แต่สำหรับ LINE mini นั้น ธุรกิจสามารถสร้างเพจของตัวเองบน LINE ได้เลย พร้อมกับใส่ข้อมูลบริการ เช่น เมนู ราคา การทำการจอง ทำบัตรสะสมคะแนน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังมีระบบแจ้งเตือนที่ส่งข้อความถึงลูกค้ารายบุคคลได้
Open Chat
บริการใหม่ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้างกลุ่มเฉพาะตามความสนใจ ซึ่งช่วยให้การสนทนาทาง LINE ตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของสมาชิกแต่ละกลุ่มมากขึ้น โดยที่แอดมินกลุ่มสามารถตอบรับให้คนเข้ามาร่วมสนทนาเพิ่มเติมพร้อมสร้างรหัสในการเข้าร่วมกลุ่มได้ และสมาชิกที่เพิ่งเข้าร่วมกลุ่มก็สามารถตามไปดูประวัติการสนทนาย้อนหลังได้ด้วย Open Chat ซึ่งจะให้บริการในญี่ปุ่นก่อนและมีแผนจะให้บริการในไทยภายในปีนี้เช่นกัน
LINE Content Platform
LINE NEWS คือแพลตฟอร์มอ่านข่าวของ LINE ญี่ปุ่นที่เปรียบได้กับ LINE TODAY ในไทย ซึ่ง LINE NEWS มีผู้ใช้งานกว่า 65 ล้านคน และล่าสุดได้ประกาศความร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ TV Tokyo พร้อมนำไฮไลต์กีฬามาออนแอร์แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังเปิดตัว VISION โปรเจ็กต์วีดีโอสำหรับ LINE NEWS ที่เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์ได้ร่วมสร้างสรรค์ไอเดียในการทำคอนเทนต์ โดยจะเป็นคอนเทนต์วีดีโอแนวตั้งที่จะไปขึ้นบนแท็ป News ในแอป LINE
LINE LIVE
เปิดโอกาสให้เหล่าคนดัง หรือ ใครก็ตามได้สานฝันในการเป็น LINE LIVERs ที่สามารถ LIVE ได้บนแพลตฟอร์ม LINE เป็นช่องทางให้เซเลบริตี้ได้พูดคุยกับแฟนคลับ และเตรียมเปิดตัวอีกฟีเจอร์คือ LIVE Commerce ที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ผู้ชมสามารถถามคำถามหรือซื้อสินค้าได้ในระหว่างชม Live ซึ่งฟีเจอร์นี้มีแผนจะเปิดตัวในปี 2020
LINE Financial Platform
LINE มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการธนาคารเต็มตัวและขึ้นเป็นผู้นำฟินเทคในเอเชียให้ได้ โดยการพัฒนา LINE Wallet ให้เป็นบริการธุรกรรมทางการเงินแบบไร้รอยต่อ พร้อมกันนี้ LINE Financial ได้ร่วมทุน Nomura Holdings เตรียมเปิดบริษัทหลักทรัพย์ LINE เพื่อให้บริการการซื้อขายหลักทรัพย์ในแอป LINE บริการนี้จะรวบรวมหุ้นที่คัดสรรจากบริษัทชั้นนำ 100 แห่งในญี่ปุ่น อีกบริการ LINE Pocket Money ที่ LINE Credit จะเปิดให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลโดยไม่ต้องใช้หลักประกันภายใต้บริการ โดยจะมอบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ใช้ LINE Score มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและวงเงินสินเชื่อที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้แต่ละรายโดยพิจารณาจากคะแนน LINE Score เป็นหลัก และที่น่าจับตามองมากๆ สำหรับผู้ใช้ในไทยคือ LINE Smartphone Bank ที่เตรียมเป็นผู้ให้บริการด้านการธนาคารเต็มตัวใน 4 ประเทศหลัก ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และไทย ซึ่งประกาศแล้วว่าในช่วงต้นปี 2020 ผู้ใช้งานไทยน่าจะได้เห็นบริการภายใต้บริษัทร่วมทุน ‘บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด’
LINE Commerce แพลตฟอร์ม
จากแนวคิด OMO ที่เน้นผสานช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าของ LINE ที่ประกอบด้วย 3 บริการ คือ LINE Shopping ที่ผู้ใช้จะได้รับคะแนนจาก LINE เมื่อซื้อสินค้าที่ร้านค้าออฟไลน์ และยังสามารถค้นหาร้านค้าที่เข้าร่วมตามตำแหน่งปัจจุบันของพวกเขา LINE Delima บริการส่งอาหาร ที่มีร้านค้าเข้าร่วมมากกว่า 16,500 แห่งและรายได้เติบโตถึง179% จากไตรมาส 4 ปี 2018 ถึงไตรมาส 1 ปี 2019 และ LINE Travel ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและจองร้านอาหารและที่พักใกล้เคียงได้
LINE Marketing Solution Platform
มีการพัฒนาหน้าโฆษณาบนหน้าแชท จากเดิมที่เคยเป็นแค่แบนเนอร์แนะนำบริการตรงแถบบนของหน้าแชท ได้มีการพัฒนาเป็น Smart Channel Video Ads ที่เป็นช่องทางการโฆษณาแบบวิดีโอเข้ามา ในส่วนของLINE Ads Platform ก็จะมีการเปิดแพลตฟอร์มโฆษณาสำหรับกลุ่ม Publisher โดยจะอิงข้อมูลจาก LINE มาช่วย Personalized โฆษณาและข่าวสารต่างๆ ให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละรายให้มากที่สุด และ LINE Flyer เป็นใบปลิวโฆษณาแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้ LINE แต่ละคนจะได้รับไม่เหมือนกัน โดยจะขึ้นอยู่กับความชื่นชอบ สถานที่อยู่อาศัย ช่วงเวลาในแต่ละวันเพื่อนำไปสู่การซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ
LINE AI / Search
LINE ได้นำเทคโนโลยี AI มาต่อยอดบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์มของ LINE เช่น LINE Car Navigator ที่ร่วมมือกับ Toyota นำระบบ Clova เข้ามาพัฒนาเป็นแอประบบนำทางพร้อมระบบสั่งการด้วยเสียง อีกตัวอย่างคือ LINE BRAIN หน่วยงานใหม่ของ LINE ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งยกระดับธุรกิจและบริการที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์โดยเฉพาะ และ LINE Search เซิร์ชเอนจินในแอปของ LINE ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเซิร์ชข้อมูลได้ตั้งแต่ข้อมูลการสนทนา ข้อมูล Official Accounts คอนเทนต์ และบริการอื่นๆ บนแพลตฟอร์ม LINE
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างบางส่วนที่น่าสนใจจากงานและการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆจะเน้นที่ญี่ปุ่นก่อน สำหรับฝั่งไทยนั้นน่าจะออกมาในช่วงเวลาไม่ห่างกันนัก และสุกิเชื่อว่าถ้าเราสามารถใช้เทคโนยีต่างเหล่านี้ได้เต็มรูปแบบเมื่อไร การใช้ชีวิตประจำวันและการทำธุรกิจจะทั้งง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้นแน่นอน สับหรับกำหนดการเปิดตัวบริการในไทยต้องอดใจรอประกาศจากทาง LINE xประเทศไทยกันอีกที่ครับ
ติดต่อขอรับคำแนะนำโฆษณา LINE ADS PLATFORM ได้ที่นี่
Add LINE: http://bit.ly/2oJaQO5
Inbox: m.me/sellsuki
โทร: 02-0263-250
ใครที่สนใจอยากพูดคุยเรื่องทางธุรกิจและสร้าง Connection กับเพื่อนร้านค้าเจ้าอื่นๆ กดเข้ามาเพื่อเข้ากรุ๊ปได้ที่นี่เลยค่ะ กรุ๊ปร้านค้าผู้น่า Like by Sellsuki อย่าลืม! ตอบคำถามก่อนเข้ากรุ๊ปด้วยนะ ^^
ที่มา: thestandard.co line-hr.jp