เพราะการลดราคา ไม่ใช่แค่การลดราคา
ร้านค้าไม่ว่าจะภาคพื้นไหนก็ตาม จะบนฟ้า ใต้น้ำ ในอวกาศอะไรก็แล้วแต่มี การลดราคา เป็นตัวดึงดูดสร้างความน่าสนใจของร้านกันทั้งนั้น การลดราคาสินค้าให้มีราคาถูกลงเพื่อให้ขายสินค้าได้ในปริมาณมากขึ้น หัวใจสำคัญก็คือว่าเมื่อลดราคาแล้วนั้นก็ต้องยังคงตำแหน่งทางการตลาดไว้ไม่ต่างจากเดิม ซึ่งธุรกิจที่เหมาะกับกลยุทธ์นี้มักเป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่ได้เปรียบในการกำหนดราคาขายที่ต่ำกว่าได้เนื่องจากมีต้นทุนทางธุรกิจที่ต่ำกว่า จนเป็นเรื่องยากที่คู่แข่งรายย่อยอื่นๆ จะสามารถตัดราคาลงมาสู้ด้วยได้
แต่การลดราคาต้องอาศัยหลายปัจจัยเหมือนกัน ว่าความเหมาะสมว่าเมื่อไรที่ควรลด และเมื่อไรที่ไม่ควรลด ไม่อย่างนั้นการลดที่ราคาจนเป็นปกตินั้นก็จะทำให้ผู้คนมักตัดสินไปเองว่าเราเป็นแบรนด์ระดับล่าง ดังนั้นวิธีการใช้อย่างชาญฉลาดก็คือการอาศัยช่วงเทศกาลในการทำการตลาดเพื่อลดราคาสินค้า หรือให้ส่วนลดสำหรับลูกค้าขาประจำเพื่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อแบรนด์มากขึ้น
มาดูกันดีกว่าว่าการลดราคาเขาเอาไปใช้ประกอบการขายอย่างไรกันบ้าง
1) รับส่วนลดเยอะเมื่อซื้อเยอะ
คงเคยเห็นบ่อยครั้งกับการลดราคาเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณมาก ๆ หรือเวลาสินค้าบางชนิดจะลดราคาเมื่อซื้อเป็นคู่ และในบางครั้งการซื้อสินค้า 3 ชิ้นก็มักจะได้แถม 1 ชิ้น ด้วยกลยุทธ์เช่นนี้ก็มักทำให้ลูกค้านั้นเกิดอาการเสียดายและอยากได้ส่วนลดจนสุดท้ายก็ต้องเพิ่มปริมาณการซื้อเพื่อให้ได้ราคาตามโปรโมชั่นนั่นเอง
2) เทศกาลลดราคา
การเลือกช่วงเวลาสั้นๆ ในของแต่ละปีมาสัก 1-2 ช่วง เพื่อลดราคาสินค้าให้กับลูกค้าถือเป็นเรื่องปกติที่แทบทุกแบรนด์มักใช้กัน โดยช่วงเวลาที่เราเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะเพิ่มยอดขายในช่วงไหน หลายแบรนด์มักใช้ช่วงเทศกาลในการจัดโปรโมชั่นลดราคาเพราะเป็นช่วงที่ผู้คนมักออกมาจับจ่ายใช้สอยสินค้าเป็นจำนวนมาก แต่หลายแบรนด์ก็อยากระตุ้นยอดขายในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซา เพราะเป็นช่วงเวลาที่ไม่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งอีกจำนวนมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าการลดราคาแบรนด์เราน่าจะดึงดูดผู้คนในช่วงไหนได้มากกว่า
3) เมื่อสินค้าเริ่มตกรุ่นต้องลดราคา
เคยไหมที่เดินผ่านร้านแบรนด์ต่างๆ แล้วเห็นป้ายลดราคา 50% แต่เมื่อเดินเข้าไปในร้านแล้วกลับพบว่า สินค้าที่ลดราคาจริงๆ นั้นไม่มีชิ้นไหนที่เป็นรุ่นใหม่ๆ เลย นี่จึงถือเป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่แทบไม่ค่อยได้รับความสนใจแล้ว และเป็นการระบายสินค้าค้างสต็อกที่ได้ผลเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าใหม่ๆ ได้เข้ามาทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ในราคาที่ถูกลงอีกด้วย
ลดราคาอย่างไรก็ไม่น่าจูงใจ หากร้านค้าดูไม่มีความน่าเชื่อถือ
ไม่ว่าเพื่อนๆจะมีเว็บช็อปปิ้งเป็นของตัวเองหรือไม่มี ปัจจุบันพบว่าผู้คนนิยมหาข้อมูลผ่านการแชร์รีวิว การเปรียบเทียบราคา และการหาอ่านคอมเม้นท์ใน Social Media รวมไปถึงติดต่อเจ้าของร้านโดยตรง ดังนั้นเพื่อนๆจะต้องเตรียมช่องทางการติดต่อสะดวกๆเอาไว้ให้ดี ช่องทางหนึ่งที่มีผู้ใช้งานครอบคลุมมากที่สุดในไทยและทั่วโลก ได้แก่ การเปิดแฟนเพจบน Facebook ที่นอกจากจะใช้เป็นช่องทางติดต่อได้แล้ว ยังใช้เปิดเป็นหน้าร้านได้อีกด้วย
Sellsuki คือ ระบบแคชเชียร์สำหรับคนที่ขายของผ่าน Facebook จุดเด่นคือ Sellsuki จะไม่ไปเปลี่ยนแปลงหน้าตา หรือ เพิ่ม Tab บนหน้าเพจของเพื่อนๆเลย ทำให้แสดงผลบน PC และโทรศัพท์มือถือได้อย่างดีเยี่ยม วิธีการใช้งาน ก็แค่ Chat คุยกับลูกค้าผ่าน Inbox ตามปกติ แต่เราสามารถส่งลิ้งค์ที่เป็น “บิลออนไลน์” ที่สรุปยอดคำสั่งซื้อพร้อมคำนวณเงินให้เสร็จสรรพ ส่งให้ลูกค้าคลิกเปิดดู พร้อมแจ้งโอนผ่านบิลออนไลน์ใบนี้ได้เลย ล่าสุด Sellsuki ได้เพิ่ม PayPal ให้เพื่อนๆที่ขายของออนไลน์ผ่าน Facebook สามารถรับชำระเงินลูกค้าจากบัตรเครดิต/บัตรเครดิตได้ ทั้งไทยและทั่วโลก และยังใช้เป็นหลักฐารับชำระเงินป้องกันมิจฉาชีพได้ด้วยล่ะ
การใช้ระบบที่ทำให้ร้านค้าดูน่าเชื่อถือ และเป็นระเบียบ นอกจากจะทำให้เพื่อนๆขายของอย่างสบาย ปิดยอดไวขึ้นแล้ว ยังได้ใจจากลูกค้าไปเต็มๆเลยค่ะ
พูดคุยเรื่องทางธุรกิจและสร้าง Connection กับเพื่อนร้านค้าเจ้าอื่นๆ ได้ที่นี่เลยฮะ กรุ๊ปร้านค้าผู้น่า Like by Sellsuki อย่าลืม! ตอบคำถามก่อนเข้ากรุ๊ปด้วยน้า ^^