วันนี้เรามาทำความรู้จักกับอีกกลยุทธ์การวางแผนระยะยาวเพื่อลดการสูญเสียต่างๆ โดยไม่จำเป็นสำหรับธุรกิจ ที่มีชื่อ “7 Wastes ความสูญเสีย 7 ประการ” กันค่ะ 🙂
เส้นทางการทำธุรกิจมันไม่ได้สวยงานเสมอไป มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะต้องเจอกับปัญหามากมายก่อนที่เราจะไปถึงเป้าหมายที่สวยงาม เหมือนกับสำนวนที่ฝรั่งชอบพูดกันว่า “There’s always a rainbow after the storm” แปลง่ายๆก็คือ “ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสเสมอ” แต่ก็คงไม่มีใครหรอกที่อยากตากฝนบ่อยๆ เพราะฉะนั้นการวางแผนอย่างรอบคอบและชาญฉลาดนั้นจะทำให้เราไปถึงจุดหมายได้ราบรื่นมากขึ้น วันนี้เราจะมาเล่าสู่กันฟังเรื่องปรัชญาอีกเรื่องหนึ่งที่ถูกคิดค้นโดยผู้ที่เคยมีตำแหน่งรองประธานของบริษัทโตโยต้าชื่อ ท่าน ไทอิจิ โอโน่ (Taiichi Ohno) ท่านเห็นว่ากระบวนการผลิตมักจะมีความสูญเสียต่างๆแฝงอยู่ไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นส่งผลให้ต้นทุนของสินค้ามากกว่าที่ควรจะเป็นเช่นกัน เพราะเหตุนี้ท่านจึงมีแนวคิดเพื่อพยายามลดความสูญเสียเหล่านี้โดยการกำจัดความสูญเสีย 7 ประการดังนี้
1. ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste)
2. ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste)
3. ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste)
4. ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste)
5. ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste)
6. ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste)
7. ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing Waste)

Taiichi Ohno ผู้บริหารบริษัท TOYOTA (1912-1990)
จะเห็นได้ว่ามีความสูญเสียเยอะมากจริงๆ ดังนั้นในวันนี้เราจะมาหยิบยกความสูญเสียหนึ่งประเภทมาอธิบายให้ฟังในเชิงลึก คิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่พ่อค้าแม่ค้าทุกๆ ท่านที่ต้องเจอกันอยู่ทุกๆวัน แต่อาจจะไม่ได้นึกถึง นั้นก็คือ ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste) การซื้อวัสดุหรือสินค้ามาเก็บไว้ในโกดังทีละมากๆ เพื่อให้เราสบายใจว่าจะมีวัสดุสำหรับการผลิต หรือ สินค้าในการส่งไปให้ลูกค้าตลอดเวลา หรือเพื่อให้ได้ส่วนลดจากการสั่งซื้อ จะส่งผลให้สินค้าที่อยู่ในคลังมีปริมาณมากเกินความต้องการใช้งานอยู่เสมอ ทำให้เรามีภาระในการดูแลและการจัดการ
เราเคยคิดถึงปัญหาของการเก็บสินค้าไว้มากๆกันหรือไม่? ถึงแม้ว่าการมีสินค้ามาเก็บไว้ในโกดังไว้จะมีข้อดี แต่มันก็มีข้อเสียอยู่มากมายเลยเช่นกัน ยกตัวอย่างปัญหาจากการเก็บวัสดุคงคลัง
1. ใช้พื้นที่จัดเก็บมาก: ถ้าเราต้องเสียค่าเช่าโกดังการเก็บของไว้ในโกดังเยอะเกินความจำเป็นก็จะทำให้เราเสียค่าเช่าโกดังเยอะเช่นกัน
2. ต้นทุนจม หรือ หมุนเงินไม่ทัน: แทนที่เราจะเอาเงินที่ซื้อสินค้ามาเยอะเกินไปไปลงทุนอย่างอื่นหรือทิ้งไว้ในธนาคารเพื่อเก็บดอกเบี้ย ก็กลายเป็นว่าเงินของเรากลับจมอยู่ในโกดัง
3. วัสดุ หรือ สินค้าเสื่อมคุณภาพ: สินค้าบางประเภทก็มีวันหมดอายุ เช่น อาหาร เครื่องสำอาง หรือ แม้กระทั้งเสื้อผ้าก็มีช่วงเวลาที่แฟชั่นบางประเภทไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป
4. ต้องการแรงงานและการจัดการมาก: ยิ่งมีสินค้ามากก็ต้องมีคนจัดการมากขึ้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แล้วเราจะแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการสินค้าเรายังไงดีละ?
มีหลายสิ่งหลายอย่างเลยทีเดียวที่โตโยต้านำมาใช้
1. กำหนดปริมาณการจัดเก็บ มีจุดสั่งซื้อที่ชัดเจน: อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และ ประวัติการสั่งซื้อของสินค้าของคุณพ่อค้าแม่ค้าด้วยนะคะ เพราะสินค้าแต่ละประเภทก็จะมีปริมาณจัดเก็บที่แตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น พ่อค้าแม่ค้าที่ขายเครื่องนุ่งห่มก็จะพบว่าในปีก่อนๆนั้น ลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าประเภทนี้จำนวนมากในช่วงหน้าหนาว และ ในจำนวนน้อยในช่วงหน้าร้อน เพราะฉะนั้นการเก็บข้อมูลประวัติ หรือ พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคก็จะช่วยให้เราวางแผนการสั่งซื้อได้ดียิ่งขึ้น
2. ควบคุมปริมาณวัสดุโดยใช้เทคนิคการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual control) เพื่อให้สามารถเข้าใจและสังเกตลักษณะสินค้าในสต๊อกได้ง่าย
3. ใช้ ระบบเข้าก่อน ออกก่อน (First in first out): เป็นเทคนิคการควบคุมสต๊อกระดับโตโยต้าเลยทีเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้มีวัสดุตกค้างเป็นเวลานาน อะไรที่ถูกซื้อเข้ามาก่อนก็ควรที่จะถูกใช้ก่อนหรือขายก่อน เทคนิคง่ายๆเลย
4. วิเคราะห์หาวัสดุทดแทน (Value engineering) ที่สามารถสั่งซื้อได้ง่ายมาใช้แทน เพื่อลดปริมาณวัสดุที่ต้องทำการจัดเก็บ: การหาซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้นหมายถึงการลดเวลาการขนส่งจากโรงงานมาถึงโกดังของเรา ปริมาณในการจัดเก็บก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมากมายเท่าแต่ก่อน เงินที่เราจะต้องใช้ในการสั่งซื้อของก็ไม่ต้องเสียไปเร็วเท่า หมุนเงินได้สะดวกสบายมากขึ้นเยอะเลยทีเดียว
เราหวังว่าเทคนิคการบริหาร และ ควบคุมปริมาณสินค้าแบบโตโยต้านั้นจะช่วยทุกๆคนเรื่องการวางแผนและบริหารธุรกิจไปสู่ความสำเร็จนะคะ ถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสูญเสียประเภทอื่นๆนั้นก็สามารถคอมเม้นทิ้งไว้ด้านล่างได้เลยนะคะ ถ้ามีความต้องการมากๆ ทาง Sellsuki ก็จะรวบรวมความรู้แบบอัดแน้นเพิ่มให้อีกไปเลย
ปล. สำหรับใครที่กำลังมองหาตัวจัดการสต๊อกสินค้าดีๆ Sellsuki เค้าก็มีอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่อยากแนะนำนะคะ ได้แก่ “Stock Overview” และล่าสุดยังมีบริการน้องใหม่เอาใจคนของล้น แพ็คของไม่ทัน จัดส่งไม่ทันใจ ชื่อว่า “Akita Warehouse” ค่ะ ขอฝากไว้ในอ้อมใจของเจ้าของธุรกิจทุกท่านด้วยนะคะ 🙂
สนใจ Akita ติดต่อโดยตรงได้ที่นี่
Add LINE: http://bit.ly/2O3nLFc
Inbox: m.me/akita.wh
โทร: 02-0263-250
หรือลงชื่อเพื่อรับคำแนะนำระบบจัดการสต๊อก-แพ็ค-ส่ง สินค้าครบวงจร
พูดคุยเรื่องทางธุรกิจและสร้าง Connection กับเพื่อนร้านค้าเจ้าอื่นๆ ได้ที่นี่เลยฮะ กรุ๊ปร้านค้าผู้น่า Like by Sellsuki อย่าลืม! ตอบคำถามก่อนเข้ากรุ๊ปด้วยน้า ^^