อีกสองเดือนเราก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2021 กันแล้ว ช่วงปีที่ผ่านมาเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย นอกจากจะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกแล้ว ยังกระทบไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าเราอีกด้วย ดังนั้น Sellsuki ขอนำข้อมูล เทรนด์ผู้บริโภคปี2021 จาก TCDC ที่จะเกิดขึ้นได้ในปีหน้านี้มาสรุปให้ฟังกัน เพื่อที่นักการตลาดอย่างเรา ๆ จะได้ตั้งรับและปรับตัวได้ทันนั่นเองครับ
THE COMPRESSIONALIST

ผู้บริโภคที่เต็มไปด้วยความรู้สึกเหนื่อยกาย เหนื่อยหัวใจ ไม่มีเวลาเร่งรีบ ชีวิตเต็มไปด้วยความกดดัน ไม่ว่าจะด้วยสภาพเศษฐ การเมือง สังคม รวมไปถึงตกอยู่ในภาวะอารมณืต่าง ๆ อาการหมดไฟ (Burnout) หรือซูเปอร์เเมนซินโดรม (Superhuman Syndrome) กำลังพยายามมองหาและสร้างสมดุลให้กับชีวิต คือลักษณะอาการ ของกลุ่มผู้บริโภคนี้ ที่มีมองหาสิ่งสำคัญเดียวกัน นั่นคือ “อะไรก็ได้ ที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น”
การปรับตัวของธุรกิจ
วิธีคิดแบบ less-is-more ตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยสิ่งที่แบรนด์ต่าง ๆ สามารถทำได้เลยก็คือ Make it easy! หน้าเว็บไซต์ที่เข้าไปแล้วเจอสินค้าเป็นร้อยรายการให้เลือกซื้อนั้น อาจจะไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ เพราะมีตัวเลือกที่เกินความจำเป็น ทำให้เกิดความลำบากในการตัดสินใจมากขึ้นไปอีก ดังนั้นแบรนด์จึงควรแก้ไข เพื่อนำเสนอสินค้าชิ้นเด็ดของร้านหรือสินค้ายอดนิยม เพื่อช่วยให้เกิดความง่ายต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้
THE MARKET MAKER

กลุ่มผู้บริโภคที่สร้างตลาดความต้องการขึ้นมาด้วยตัวเอง โดยขับเคลื่อนด้วยพลังของการสนับสนุนซึ่งกันเเละกัน เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้อาจถูกละเลย ความต้องการจากแบรนด์จนไม่มีสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการนั้นได้ เป็นโอกาสทางธุรกิจทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารโดยตรงกับผู้บริโภคได้ทันที เช่นกลุ่ม PWD (People With Disability) หรือกลุ่มผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งมีมากถึง 1.3 พันล้านคน ทำให้ตลาดธุรกิจที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีมูลค่ามากถึง 26 พันล้านเหรียญฯ และไม่เพียงกลุ่มผู้บริโภคนี้เท่านั้นที่จะมีตลาดรองรับความต้องการที่เติบโตขึ้น แต่ยังมีอีกหลายเช่น กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงวัย และกลุ่มเจเนอเรชั่นอัลฟ่า เป็นต้น
การปรับตัวของธุรกิจ
แนวคิดแบบ “ห่วงโซ่การผลิตแบบย้อนกลับ” หรือที่รู้จักกันในชื่อ Re-commerce ที่เป็นการสร้างคุณค่าจากสิ่งของที่เคยซื้อไปแล้ว ให้กลับมามีประโยชน์สำหรับผู้บริโภคใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะผ่านการ Trade in นำของเก่าที่ใช้อยู่มาแลกเป็นรุ่นที่ใหม่กว่า หรือการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยสร้างเงินในกระเป๋าของผู้บริโคให้มากขึ้น ลดการผลิต และมอบคุณค่าทางจิตใจที่ได้ส่งต่อของที่ไม่ได้ใช้แล้วไปยังผู้ที่ยังหาประโยชน์จากสิ่งนั้นได้ ซึ่งนับเป็นการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอย่างยั่งยืน
KINDNESS KEEPER

จากปรากฎการทางด้านการเมืองและสังคมที่ร้อนระอุทั่วทุกมุมโลก ตลอดปี 2020 อย่าง Black Lives Matter ได้กระตุ้นให้ห้ผู้คนทั่วโลกร่วมส่งสัญญาณความไม่พอใจต่อการเหยียดเชื้อชาติและความอยุติธรรม ไม่เว้นแม้แต่พลังเงียบ ผ่าน #Metoo ในการต่อรองกับผู้มีอำนาจและสร้างแรงสนับสนุนเพื่อหาทางออกในการแก้กฏหมายการล่วงละเมิดและการช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกข่มขืน เพื่อช่วยเป็นแรงกผลักดันให้เกิความเปลี่ยนแปลงทางสัมคม
แนวคิดแบบ Kindness Keeper คือกลุ่มคนที่แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ เกี่ยวกับปรากฏการณ์เชิงลบ หรือเหตุการณ์ที่ไม่เป็นธรรม มีตั้งแต่คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ คนรวยและคนจน กลุ่มคนเมืองและคนชนบทกลุ่มอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยม
การปรับตัวของธุรกิจ
ผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและความโปร่งใส แบรนด์จะต้องสามารถหลอมรวมประเด็นทางจริยธรรมและการลงทุนเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญต้องเป็นมากกว่าการพูดจะต้องแสดงออหมาให้ผู้บริโภคเหล่านี้ได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งแบรนด์จะต้องไม่เผยเฉยต่อคำติดชมจากสังคมในเรื่องที่ผิดพลาดและพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขได้อยู่เสมอ การแสดงออกทางสังคมของแบรนด์นั้นไม่ใช้ผ่านเพียงแค่การทำ CSR เพียงครั้งคราวแต่ต้องเป็นกิจดรรมที่สะท้อนการตระหนักถึงปัญหาอย่างแท้จริง
CYBER CYNICS

ในช่วงการเข้ามาของสมาร์ทโฟนสู่ตลาด เราจะเห็นได้ว่ามีกลุ่มนายทุน (ทุนนิยม) ไม่น้อยเลยที่พยายามสอดแนมข้อมูลข้องผู้บริโภคเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาแปลงเป็นดาต้าที่สำคัญในการทำการตลาดต่อไป แต่ใช่ว่าการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นจะได้รับการยินยอมจากผู้ใช้งานเสมอไป ดังนั้นจึงมีผู้บริโภคหลายคนที่รู้สึกว่าแบรนด์ใดก็ตามที่ไม่สามารถปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของพวกเขาได้จะไม่ได้รับการสนับสนุนเลย แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะดีแค่ไหนก็ตาม
การปรับตัวของธุรกิจ
แบรนด์และห้างค้าปลีกจึงควรสร้างระบบการดำเนินการทางธุรกิจที่พิสูจน์ที่มาที่ไปได้ด้วยระบบการให้คะแนนสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลหรือการเป็นหุ้นส่วนร่วมกันกับผู้บริโภคและแบรนด์ในโปรแกรมต่าง ๆ การทำ Influencer Marketing จะต้องมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น และผู้บริโภคต้องการการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาซึ่งแบรนด์ควรใส่ใจถึงกฏ Economy of Trust
และทั้งหมดนี้ก็คือ เทรนด์ผู้บริโภคปี2021 ทั้ง 4 ประเภทที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้ในปี 2021 นี้นะครับ คนทำแบรนด์ และนักการตลาดอย่างเราควรจะศึกษาและทำความเข้าใจเอาไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้ปรับตัวได้ทัน และเข้าไปมีพื้นที่ในใจของพวกเขาเหล่านี้ได้นั่นเองครับ
H/T : TCDC